Bittorrent

BitTorrent,tracker,torrent,hdd,seed,bitcomet,utorrent, connectable,bit,torrent,bit,bitcomet,p2p,file sharing,share,download,upload,speed,trackers,leecher,mininova,

Thursday, November 09, 2006

NTFS VS FAT32 อันไหนเจ๋งกว่ากัน

เรื่องที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ก็คือเรื่องของไฟล์ซิสเต็ม (File System) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งจะว่าไปมันก็ไม่ได้ใหม่อะไรหรอกครับ เพราะว่ามันมีมาตั้งแต่สมัย MS-DOS กัน

แล้ว เพียงแต่ว่าตอนนั้นไม่ค่อยได้มีใครพูดถึงกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันยังไม่ได้มีระบบอื่นหลากหลายเหมือนอย่างในปัจจุบันนั่นเอง... ระบบปฏิบัติการที่ต่างกัน มันก็จะมีไฟล์ซิสเต็มที่ต่างกัน

ไปด้วย อย่างเช่น MS-DOS และ Windows 95 นั้นจะมีไฟล์ซิสเต็มเป็น FAT16 ส่วน Windows 98 นั้นจะเป็น FAT32 (FAT ย่อมาจาก File Allocation

Table) แต่หากเป็น Windows NT ก็จะเป็น NTFS (NTFS ย่อมาจาก NT File System)... ถ้าหากมันแยกกันอยู่แบบนี้ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่จะต้องงงอะไรกันมาก

มายครับ ต่างคนต่างใช้กันไป แต่ปัญหามันเกิดขึ้นเมื่อตอน Windows 2000 ได้คลอดออกมาดูโลกภายนอกนี่สิครับ เพราะว่าเจ้าระบบปฏิบัติการรุ่นนี้มันดันใช้งานได้ทั้งไฟล์ซิสเต็มแบบ

FAT32 และ NTFS (Windows XP ล่าสุดนี่ก็เช่นกัน) พอมือใหม่ที่อยากลองของใหม่อย่าง Windows 2000 หรือ Windows XP ทำการติดตั้งแล้วเจอคำถามว่าจะ

Format โดยใช้ไฟล์ซิสเต็มแบบไหน FAT หรือ NTFS เข้าให้ ก็ต้องมานั่งคิดกันว่า แล้วอะไรมันดีกว่ากันล่ะ?!? FAT16

เจ้า FAT16 เนี่ยเป็นไฟล์ซิสเต็มที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 หรือ 20 ปีเข้าไปแล้ว (ตั้งแต่สมัยผมอายุได้สองขวบปี) โดยความจริงแล้วเจ้า FAT16 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อจะใช้งาน

กับไฟล์ต่างๆ บนแผ่นดิสก์เก็ต (สำหรับน้องๆ รุ่นใหม่ อาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าเมื่อก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไม่มีฮาร์ดดิสก์นะครับ คุณของแบบนี้เมื่อก่อนนั้นแพงมาก สมัยผมเรียนอยู่

ประถมปลาย มีวิชาคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง บูตด้วยแผ่นดิสก์แล้วไปดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับ นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ใช้งานระบบเครือข่าย แต่ว่าดันไม่

เคยรู้ตัวเลยว่านั่นเป็นระบบเครือข่าย) แล้วต่อมาก็ได้มีการปรับแต่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อที่จะให้มันใช้งานกับฮาร์ดดิสก์ได้ และยังสามารถที่จะใช้งานกับชื่อของไฟล์ที่ยาวกว่าเมื่อก่อน (เมื่อก่อนระบบ

FAT16 สามารถใช้งานกับไฟล์ที่มีชื่อยาวเพียง 8.3 ตัวอักษรเท่านั้น)... ข้อดีของไฟล์ซิสเต็มแบบ FAT16 ก็คือ มันสามารถใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้ เช่น

Windows 95, Windows 98, Windows ME, OS/2, Linux, และบางเวอร์ชันของ UNUX... แต่ว่า Windows NT ที่มีระบบไฟล์ซิสเต็มเป็น NTFS

จะมองไม่เห็นครับ และในทางกลับกันระบบ FAT ก็จะมองฮาร์ดดิสก์ที่เป็น NTFS ไม่เห็นเช่นกัน... หลายคนคงอยากเถียงว่าตอนเล่นในห้องคอมพิวเตอร์ หรือที่บริษัท ก็ยังสามารถที่จะไปดึง

ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Windows NT หรือ 2000 ที่เป็น NTFS ได้เลย แถมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ก็ยังมาดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่เป็น FAT16 หรือ FAT32 ได้

ด้วย... อันนี้ต้องทำความเข้าใจนะครับว่า ในรูปแบบของระบบเครือข่ายนั้น หากคุณไปดึงข้อมูลที่แชร์เอาไว้ในเครื่องอื่นๆ มันจะไม่สนใจหรอกครับ ว่าฮาร์ดดิสก์เครื่องนั้นมีไฟล์ซิสเต็มเป็นแบบไหน

มันสนแค่ว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกแชร์เอาไว้หรือไม่ และมีอยู่จริงหรือไม่ เท่านั้นเองครับ... แต่ปัญหาของ FAT16 ที่ทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปตามกาลเวลาก็คือจำนวนสูงสุดของคลัสเตอร์ต่อพาร์ติชัน

(Maximum number of clusters per partition) นั้นถูกกำหนดเอาไว้ตายตัว ดังนั้นเมื่อฮาร์ดดิสก์มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ว่าจำนวนคลัสเตอร์ยังเท่าเดิม ก็หมายความ

ว่าขนาดของคลัสเตอร์ก็จะใหญ่ขึ้นตามด้วย อย่างในกรณีของฮาร์ดดิสก์ขนาด 2GB นั้นจะมีคลัสเตอร์ที่ใหญ่ถึง 32KB นั่นก็หมายความว่า ต่อให้เราพิมพ์เอกสารที่มีตัวอักษรเพียง 10 ตัว แต่ขนาด

ของไฟล์ก็จะมีขนาดถึง 32KB ซึ่งเป็นขนาดเล็กสุดของคลัสเตอร์ทีเดียว ซึ่งแสดงว่าระบบ FAT16 นั้นใช้งานพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ได้อย่างสิ้นเปลืองเอามากๆ ทีเดียว... นอกจากนี้ขีดจำกัดเรื่อง

ขนาดสูงสุดของฮาร์ดดิสก์ที่มันรองรับได้ก็เป็นข้อเสียอีกเรื่องหนึ่ง ก็อย่างที่บอกนั่นแหละครับว่าระบบ FAT16 นั้นแรกเริ่มเดิมทีถูกออกแบบมาเพื่อจะใช้งานกับแผ่นดิสก์ที่สมัยนั้นมีขนาดเพียง

1.44MB อย่างมาก ดังนั้นในยุคแรกๆ จึงมีปัญหาตามมาเมื่อระบบ FAT16 ใน MS-DOS ยุคแรกๆ สามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ได้เพียง 32MB เท่านั้น!! แต่ก็ได้ถูกแก้ไขให้รองรับได้เป็น

128MB ต่อมาใน MS-DOS 4.0 และเรื่อยมาเป็น 2GB ในปัจจุบัน แต่ก็อย่างที่เห็นตอนนี้แหละนะครับ ว่าฮาร์ดดิสก์ขนาด 2GB นั้นหาซื้อไม่ได้แล้ว ขนาดผมจะไปเดินหาซื้อฮาร์ดดิสก์

ขนาด 10.2GB ผมยังหาซื้อแทบไม่ได้เลย ในตลาดบ้านเราตอนนี้ผมว่า 20GB นี่ต่ำสุดแล้วครับ (และอีกไม่นานผมว่า 30GB นี่แหละ จะต่ำสุด) ดังนั้นตอนที่ไมโครซอฟต์ออก Windows

95 OSR2 ก็เลยภูมิใจเสนอ FAT32 ที่ใช้ข้อมูล 32 บิตในการอ้างอิงถึงที่อยู่ของคลัสเตอร์ (FAT16 ใช้เพียง 16 บิต) ทำให้สามารถที่จะมีจำนวนของคลัสเตอร์บนพาร์ติชันได้มากกว่า

และสามารถแก้ปัญหาของ FAT16 ในบางเรื่องได้ครับ FAT32

คุณระบบ FAT32 เนี่ย แรกเริ่มเดิมทีก็อย่างที่บอกไปเมื่อตะกี้ว่าออกมาพร้อมกับ Windows 95 OSR2 (Service Pack 2) และเป็นแค่เพียง FAT16 ที่ได้รับการแก้ไข

เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้มีจำนวนคลัสเตอร์ต่อพาร์ติชันมากขึ้น ดังนั้นเลยมีความสามารถที่จะรองรับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่สูงสุดได้ถึง 2TB (2000GB) ทีเดียว แต่อย่างไรก็ดี มันก็แลกมากับการ

สูญเสียความสามารถในการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการที่หลากหลายไปครับ... FAT16 และ FAT32 มีข้อด้อยเหมือนๆ กันอยู่เรื่อง ก็คือ มันไม่สนับสนุนการบีบอัดข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูล

และไม่มีฟีเจอร์ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลครับ NTFS

NTFS หรือ NT File System นั้นชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าน่าจะเปิดตัวบนระบบปฏิบัติการ Windows NT แน่นอน เจ้า NTFS เนี่ยแตกต่างจาก FAT โดยสิ้นเชิงครับ มันมีทั้ง

ความสามารถในการบีบอัดข้อมูลแบบไฟล์ต่อไฟล์ มีความสามารถในการกำหนดโควต้าการใช้งานพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ มีความสามารถในการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน และยังมี

ความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลได้ด้วย ทว่าข้อเสียของ NTFS ในยุคของ Windows NT ก็คือมันไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดดิสก์ที่เป็นไฟล์ซิสเต็มแบบ FAT ได้นั่นเอง และนั่นก็ทำให้มันไม่

สามารถที่บูตด้วยแผ่นดิสก์แบบปกติได้ (เพราะว่าการบูตด้วยแผ่นดิสก์จะมองฮาร์ดดิสก์ที่เป็น FAT เห็นเท่านั้น แต่ปัญหาเรื่องของฮาร์ดดิสก์แบบ NTFS มองฮาร์ดดิสก์แบบ FAT ไม่เห็นได้

หมดไปกับการปรากฏตัวของ Windows 2000 และ Windows XP ที่มีความสามารถในการสนับสนุนไฟล์ซิสเต็มทั้งแบบ FAT และ NTFS ทำให้ระบบปฏิบัติการ Windows

2000 และ Windows XP สามารถที่จะมองฮาร์ดดิสก์ทั้งแบบ NTFS และ FAT เห็นหมดเลย เฮ... นอกจากนี้ คุณอาจจะเลือกที่จะติดตั้ง Windows 2000 หรือ Windows

XP บนไฟล์ซิสเต็มแบบ FAT ไปก่อน แล้วค่อยเปลี่ยน (Convert) มาเป็น NTFS ทีหลังก็ได้ด้วยคำสั่ง convert /fs:ntfs ที่ Command Prompt ครับ เพียงแต่ขอ

ให้ระลึกไว้เสมอว่า เมื่อเปลี่ยนมาใช้ NTFS แล้วจะเปลี่ยนกลับไปใช้ FAT ไม่ได้แล้วนะครับ แล้วผมควรจะใช้ไฟล์ซิสเต็มแบบไหนดี?!?

ถ้าจะให้ฟันธงไปเลย ผมอยากบอกว่าไฟล์ซิสเต็มแบบ NTFS นั้นดีกว่าแบบ FAT มากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณต้องการที่จะเก็บรักษาข้อมูลของคุณเอาไว้เป็นความลับ ดังนั้นหากเป็น

ไปได้แล้ว คุณควรจะเลือกใช้ไฟล์ซิสเต็มแบบ NTFS มากกว่าครับ อย่าไปหลงเชื่อใครว่าไฟล์ซิสเต็มแบบ NTFS นั้นไม่สามารถเล่นเกมได้ หรือเล่นได้แต่ก็ไม่ดีเท่า FAT นะครับ ไม่เกี่ยวกัน

เลยแม้แต่น้อยครับ มันอยู่ที่ฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการที่คุณติดตั้งมากกว่า... กรณีเดียวที่คุณควรจะใช้งานไฟล์ซิสเต็มแบบ FAT ก็คือในกรณีที่คุณติดตั้งระบบปฏิบัติการมากกว่าสองระบบ

เช่น Windows 98 หรือ Windows ME ควบคู่กับ Windows 2000 (หวังว่าคงไม่มีใครจะโชว์พาวเวอร์ด้วยการติดตั้ง Windows 2000 ร่วมกับ Windows XP นะ

ครับ ผมว่ามันสิ้นเปลืองฮาร์ดดิสก์โดยเปล่าประโยชน์จริงๆ)

Web statistics

0 Comments:

Post a Comment

<< Home

 
Google
 
Web thaibit.blogspot.com