วิธีป้องกันตนเองจากการจับกุมร้านเน็ต,เกม
คาถาป้องกันตนเองจากการตรวจค้นจับกุมร้านเน็ตและเกมส์
เนื่องจากในช่วงนี้มีผู้ประกอบการจำนวนมากมีปัญหากับการตรวจค้นจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ และหลายๆท่านไม่ทราบว่าควรปฏิบัติตัวเช่นไร ซึ่งจากจุดนี้เองทำจึงเกิดเป็นช่องว่างกับเหล่ามิจฉาชีพให้เข้ามาหากินกับผู้ประกอบการโดยใช้วิธีการที่ผิดกฏหมาย วันนี้มีผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฏหมายท่านหนึ่ง มองเห็นความไม่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลและส่งบทความเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อโดนตรวจค้นมายังทีมงาน ซึ่งทางทีมงานเห็นว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้ประกอบการท่านอื่น จึงขอนำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ
วีธีป้องกันตนเอง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทีมนำจับ เข้าตรวจค้นจับกุมร้านเน็ตและเกมส์
1. ท่านต้องตั้งสติให้มั่น อย่าหวั่นไหว หรือ ตื่นเต้นจนเกินไป เรียกเพื่อนๆหรือ ญาติ ให้ชวนกันมาที่ร้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเยอะยิ่งดี และ ติดต่อผู้รู้ หรือนักกฎหมาย ให้มาที่ร้าน หรือ โทรฯปรึกษาโดยทันที
2. อ่านเอกสารที่เจ้าหน้าที่และทีมนำจับนำมา ซึ่งจะต้องมีเอกสารดังนี้
2.1 หมายศาล ซึ่งเป็นหมายค้น ในหมายศาลจะต้องอ่านดูว่า วันที่ในหมายศาล หมดกำหนดหรือยัง (เพราะโดยปกติ ศาลจะไม่ออกหมายศาลเป็นเวลาหลายๆวัน) สถานที่ให้เข้าค้น ชื่อร้านถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ บ้านเลขที่ถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ท่านปฏิเสธการเข้าตรวจค้น ถ้ายังไม่ยอมจะเข้ามาในร้าน ให้โทรศัพท์แจ้งตำรวจท้องที่ทันที
2.2 บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจช่วง(ถ้ามี) รูปในบัตรกับตัวจริงต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และตรงกับที่ระบุในหมายศาล ท่านต้องยอมให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในร้านได้ แต่เฉพาะ บุคคลที่มีรายชื่อในหมายศาลเท่านั้น
2.3 อ่านข้อกล่าวหาว่า มาค้นในเรื่องอะไร เช่นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ดูในรายละเอียดว่า ลิขสิทธิ์โปรแกรมซอฟแวร์อะไร ลิขสิทธิ์เกมส์อะไร หรือลิขสิทธิ์เพลงอะไร เพื่อที่จะทราบในขั้นต้นว่า เรามีโปรแกรม หรือ ซอฟแวร์อะไร ที่เขาจะตรวจค้นเราหรือไม่
2.4 ดูการมอบอำนาจว่าถูกต้องหรือไม่ การมอบอำนาจช่วง ต้องไม่ขาดตอน ถ้าขาดตอนการมอบอำนาจก็ไม่ถูกต้อง การค้นตามหมายศาลก็ไม่ถูกต้อง ท่านมีสิทธิที่ไม่ยอมให้ตรวจค้นได้
3. หลังการตรวจค้น ไม่ว่าจะพบ หรือ ไม่พบการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรเซ็นชื่อในเอกสารใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งให้ท่าน ไม่ว่าจะเซ็นรับทราบ หรือ เซ็นยอมรับข้อกล่าวหา หรือเซ็นเพื่อยอมรับว่าไม่มีความเสียหายใดในการตรวจค้นครั้งนี้ ก็ตาม ควรที่จะปรึกษาผู้รู้หรือนักกฎหมายเสียก่อน
4. ในกรณีไม่มีหมายค้น โดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และ / หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้แล้ว ท่านมีสิทธิ์ปฏิเสธการตรวจค้นได้ทันที เพราะกฎหมายข้อนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีความเห็นว่ากระทำไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้ โดยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสำนักงานกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่ ๔๕๒/๒๕๔๖ มีใจความว่า การตรวจค้นจับกุมดังกล่าว ไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล เนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ให้จับได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ
5. ในกรณีที่มีการพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
5.1 กรณีที่ท่านมีเจตนาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ก็ควรเจรจากับตัวแทนหรือ ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าของลิขสิทธิ์ (อย่าใช้ภาษากฎหมาย) โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไม่จำต้องยินยอมในวันที่ถูกจับ (ถ้าหากท่านสามารถประกันตัวในวันที่ถูกจับได้) อาจจะยินยอมในวันต่อๆมา หรือ อาจเปลี่ยนเป็นสู้คดีก็ได้
5.2 กรณีที่ท่านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ท่านต้องเตรียมประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
6. การประกันตัว
6.1 ปกติการประกันตัวหรือ ปล่อยชั่วคราว เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่จะกำหนดวงเงินประกันตัว ในกรณีการจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมา มักจะกำหนดในวงเงิน 50,000 บาท ถึง 200,000 บาท แต่ปัจจุบันนี้ ผบ.ตร.ได้มีหนังสือกำชับหน่วยงานของตำรวจ ให้ปฏิบัติตามเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยได้ ให้กำหนดจำนวนเงินในการประกันตัวผู้ต้องหาด้วยเงินสด จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน กำหนดเงินประกันเป็นเงินสด สูงกว่า 50,000 บาท ท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามและขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผบ.ตร.
6.2 การประกันตัวนี้หากท่านไม่สามารถหาบุคคล หรือเงินสดมาค้ำประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวได้ ท่านสามารถซื้อประกันอิสรภาพได้ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ซึ่งจะทำให้ท่านพ้นจากการเรียกเงินประกันจำนวนมาก เพื่อบีบให้ยอมความโดยที่ท่านไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย รายละเอียดตามเวปไซท์ด้านล่างนี้ (จดหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วยเพื่อจำเป็นต้องใช้ในยามจำเป็น)
http://www.viriyah.co.th/customer/cust_product_misc_freedom.asp
>>>>>>>>>>> ต้องขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆนี้ ที่ คุณ นัท หามาให้นะครับ <<<<<<<<<<<<
>>> ส่วนอันนี้ เหมาะสำหรับ เจ้าของเวปนะครับ ถ้ามีเเล้วต้องขอโทษด้วยนะครับ อย่าลบ คะเเนน ผมนะครับ<<<<<
จุดประสงค์สำหรับการทำเวปไซต์แห่งนี้ไม่ได้ทำเพื่อการค้า หรือการพานิชย์ใดๆ แต่จัดทำขึ้นก็เพื่อให้เกิดสังคมสำหรับการแบ่งปันความรู้ ข่าวสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างสมาชิกด้วยกัน โดยยึดหลักตามประมวลกฎหมาย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 32 และ 35 ในส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีเนื้อความดังต่อไปนี้
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงาน ผลการพิจารณาดังกล่าว
เนื่องจากในช่วงนี้มีผู้ประกอบการจำนวนมากมีปัญหากับการตรวจค้นจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ และหลายๆท่านไม่ทราบว่าควรปฏิบัติตัวเช่นไร ซึ่งจากจุดนี้เองทำจึงเกิดเป็นช่องว่างกับเหล่ามิจฉาชีพให้เข้ามาหากินกับผู้ประกอบการโดยใช้วิธีการที่ผิดกฏหมาย วันนี้มีผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฏหมายท่านหนึ่ง มองเห็นความไม่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลและส่งบทความเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อโดนตรวจค้นมายังทีมงาน ซึ่งทางทีมงานเห็นว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้ประกอบการท่านอื่น จึงขอนำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ
วีธีป้องกันตนเอง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทีมนำจับ เข้าตรวจค้นจับกุมร้านเน็ตและเกมส์
1. ท่านต้องตั้งสติให้มั่น อย่าหวั่นไหว หรือ ตื่นเต้นจนเกินไป เรียกเพื่อนๆหรือ ญาติ ให้ชวนกันมาที่ร้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเยอะยิ่งดี และ ติดต่อผู้รู้ หรือนักกฎหมาย ให้มาที่ร้าน หรือ โทรฯปรึกษาโดยทันที
2. อ่านเอกสารที่เจ้าหน้าที่และทีมนำจับนำมา ซึ่งจะต้องมีเอกสารดังนี้
2.1 หมายศาล ซึ่งเป็นหมายค้น ในหมายศาลจะต้องอ่านดูว่า วันที่ในหมายศาล หมดกำหนดหรือยัง (เพราะโดยปกติ ศาลจะไม่ออกหมายศาลเป็นเวลาหลายๆวัน) สถานที่ให้เข้าค้น ชื่อร้านถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ บ้านเลขที่ถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ท่านปฏิเสธการเข้าตรวจค้น ถ้ายังไม่ยอมจะเข้ามาในร้าน ให้โทรศัพท์แจ้งตำรวจท้องที่ทันที
2.2 บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจช่วง(ถ้ามี) รูปในบัตรกับตัวจริงต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และตรงกับที่ระบุในหมายศาล ท่านต้องยอมให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในร้านได้ แต่เฉพาะ บุคคลที่มีรายชื่อในหมายศาลเท่านั้น
2.3 อ่านข้อกล่าวหาว่า มาค้นในเรื่องอะไร เช่นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ดูในรายละเอียดว่า ลิขสิทธิ์โปรแกรมซอฟแวร์อะไร ลิขสิทธิ์เกมส์อะไร หรือลิขสิทธิ์เพลงอะไร เพื่อที่จะทราบในขั้นต้นว่า เรามีโปรแกรม หรือ ซอฟแวร์อะไร ที่เขาจะตรวจค้นเราหรือไม่
2.4 ดูการมอบอำนาจว่าถูกต้องหรือไม่ การมอบอำนาจช่วง ต้องไม่ขาดตอน ถ้าขาดตอนการมอบอำนาจก็ไม่ถูกต้อง การค้นตามหมายศาลก็ไม่ถูกต้อง ท่านมีสิทธิที่ไม่ยอมให้ตรวจค้นได้
3. หลังการตรวจค้น ไม่ว่าจะพบ หรือ ไม่พบการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรเซ็นชื่อในเอกสารใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งให้ท่าน ไม่ว่าจะเซ็นรับทราบ หรือ เซ็นยอมรับข้อกล่าวหา หรือเซ็นเพื่อยอมรับว่าไม่มีความเสียหายใดในการตรวจค้นครั้งนี้ ก็ตาม ควรที่จะปรึกษาผู้รู้หรือนักกฎหมายเสียก่อน
4. ในกรณีไม่มีหมายค้น โดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และ / หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้แล้ว ท่านมีสิทธิ์ปฏิเสธการตรวจค้นได้ทันที เพราะกฎหมายข้อนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีความเห็นว่ากระทำไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้ โดยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสำนักงานกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่ ๔๕๒/๒๕๔๖ มีใจความว่า การตรวจค้นจับกุมดังกล่าว ไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล เนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ให้จับได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ
5. ในกรณีที่มีการพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
5.1 กรณีที่ท่านมีเจตนาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ก็ควรเจรจากับตัวแทนหรือ ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าของลิขสิทธิ์ (อย่าใช้ภาษากฎหมาย) โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไม่จำต้องยินยอมในวันที่ถูกจับ (ถ้าหากท่านสามารถประกันตัวในวันที่ถูกจับได้) อาจจะยินยอมในวันต่อๆมา หรือ อาจเปลี่ยนเป็นสู้คดีก็ได้
5.2 กรณีที่ท่านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ท่านต้องเตรียมประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
6. การประกันตัว
6.1 ปกติการประกันตัวหรือ ปล่อยชั่วคราว เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่จะกำหนดวงเงินประกันตัว ในกรณีการจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมา มักจะกำหนดในวงเงิน 50,000 บาท ถึง 200,000 บาท แต่ปัจจุบันนี้ ผบ.ตร.ได้มีหนังสือกำชับหน่วยงานของตำรวจ ให้ปฏิบัติตามเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยได้ ให้กำหนดจำนวนเงินในการประกันตัวผู้ต้องหาด้วยเงินสด จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน กำหนดเงินประกันเป็นเงินสด สูงกว่า 50,000 บาท ท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามและขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผบ.ตร.
6.2 การประกันตัวนี้หากท่านไม่สามารถหาบุคคล หรือเงินสดมาค้ำประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวได้ ท่านสามารถซื้อประกันอิสรภาพได้ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ซึ่งจะทำให้ท่านพ้นจากการเรียกเงินประกันจำนวนมาก เพื่อบีบให้ยอมความโดยที่ท่านไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย รายละเอียดตามเวปไซท์ด้านล่างนี้ (จดหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วยเพื่อจำเป็นต้องใช้ในยามจำเป็น)
http://www.viriyah.co.th/customer/cust_product_misc_freedom.asp
>>>>>>>>>>> ต้องขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆนี้ ที่ คุณ นัท หามาให้นะครับ <<<<<<<<<<<<
>>> ส่วนอันนี้ เหมาะสำหรับ เจ้าของเวปนะครับ ถ้ามีเเล้วต้องขอโทษด้วยนะครับ อย่าลบ คะเเนน ผมนะครับ<<<<<
จุดประสงค์สำหรับการทำเวปไซต์แห่งนี้ไม่ได้ทำเพื่อการค้า หรือการพานิชย์ใดๆ แต่จัดทำขึ้นก็เพื่อให้เกิดสังคมสำหรับการแบ่งปันความรู้ ข่าวสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างสมาชิกด้วยกัน โดยยึดหลักตามประมวลกฎหมาย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 32 และ 35 ในส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีเนื้อความดังต่อไปนี้
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงาน ผลการพิจารณาดังกล่าว
0 Comments:
Post a Comment
<< Home